ในพระราชพิธีมังคลาภิเษก พ.ศ.๒๔๕๐ เมื่อคราวรัชกาลที่ ๕ ทรงครองราชย์เป็นปีที่ ๔๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งนี้ ในพระราชวังกรุงศรีอยุธยา เพื่อบำเพ็ญพระราชกุศล
เดิมรัชกาลที่ ๕ มีพระราชดำริให้สร้างในแบบสถาปัตยกรรมยุโรปเต็มตัว แต่มีผู้ทัก ท้วงขอให้พระที่นั่งสามองค์มียอดปราสาท ตามพระราชประเพณีที่พระมหากษัตริยมีที่ประทับตามฤดูกาล ๓ แห่ง
ไอติมไล้เหลี่ยวฮ้า" เป็นเสียงร้องของเจ็กขายไอติมหาบเร่ ไอติมแบบเดิมไม่มี อะไรมาก เป็นส่วนผสมของน้ำมะพร้าวอ่อน น้ำตาลทราย เนื้อไอติมออกเป็นทราย
รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างถนนนี้ใน พ.ศ.๒๔๐๔ ภาพนี้ถ่ายหลังการ เปลี่ยนจากรถม้าลากเป็นรถรางใช้พลังไฟฟ้า ตึกสองฟากยังเป็นแบบจีนเต็มตัว
ภาพนี้คือสถานีตำรวจในกรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ ๕ คนทั่วไปเรียกว่า โรงพักพลตระเวน ยุคนั้น เราขังจ้างแขกอินเดียบ้าง มลายูบ้าง เป็น "โปลิส"
เมื่อ ๘๐-๙๐ ปีมาแล้ว ชาวสวนจะใช้ชีวิตสมถะ บ้านช่องอยู่ในสวนริมคลอง มีแมก ไม้บดบัง แต่บ้านเรือนไทยสวยงาม มีความสงบร่มรื่น
การแต่งกายของสตรีสยามได้เปลี่ยนแปลงมาทุกยุคทุกสมัย เช่นเดียวกับชาติที่เจริญแล้วทาง ยุโรป ความงดงามของเครื่องนุ่งห่มที่ดัดแปลงซึ่งเป็นแบบอย่างวัฒนธรรมอันงดงามประจำชาติย่อม เป็นเกียรติภูมิที่น่าภูมิใจ เมืองไทยเรามีเครื่องแต่งกายสืบเนื่องกันมาตั้งแต่ยุคสุโขทัย ยุคกรุงศรี อยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๕ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า ในอาณาเขต ของย่านสำเพ็งนั้นเริ่มคับแคบ เพราะผู้คนคับคั่งมากขึ้นด้วย เป็นสถานที่ค้าขายสินค้า ประชาชนเข้า มาอยู่กันแออัด จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนเยาวราช โดยให้ผู้เป็นเจ้าของที่ดินอาคารบ้านเรือนได้ รับความเดือดร้อนน้อยที่สุด ถนนเยาวราชสำเร็จลงด้วยดีทุกประการ มีความยาว ๑,๕๓๒ เมตร กว้าง ๒๐ เมตร นับเป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น