วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ200ปี ภาพกรุงเทพในอดีต

     ภาพแรกคือป้อมมหาชัย อยู่หน้าวังบูรพาภิรมณ์ ปัจจุบันเป็นตึกธนาคารไทยทนุ( 2525 )ขวามือคือเยาวราชไป ออกวัดตึก
ภาพล่าง
เสาธงบนป้อมเผด็จดัสกร บนกำแพงพระบรมมหาราชวัง ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับศาลหลักเมือง โปรดสังเกตต้นมะขามที่สนามหลวงและสนามสถิตยุติธรรม ตอนนั้นยังเล็กอยู่
                            
                      
                                        ตลาดเก่าเยาวราช




สถานมหันตโทษหรือคุกใหม่ที่ถนนมหาไชย  ใกล้ประตูสามยอด  ปัจจุบันเรียกชื่อว่า  เรือนจำพิเศษ
กรุงเทพมหานคร  ภาพนี้ถ่ายในสมัยรัชการที ๕ สมัยยังไม่ได้วางรถราง

อีกภาพคือสะพานหัน ทางด้านซ้ายคือสำเพ็ง  ขวาคือพาหุรัด



                       
                              วัดอรุณ และคลองหลอด หน้าวังสราญรมย์สมัยก่อน




                                       วัดอรุณ



                                
                                          ศาลาคองคอเดีย ในพระบรมมหาราชวัง ต้นกำเนิดของหอสมุดแห่งชาติ




                                                               
 ร้านขายเพชรพลอยและเครื่องประดับที่ถนนเฟื่องนคร หน้าวังกรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจ ในสมัยรัชกาลที่5





วังหน้า พระราชวังบวรสถานมงคล ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ภาพนี้คงจะเห็นกันมาบ่อยๆ





น้ำท่วมปีมะเส็ง พศ.2460 หน้าประตูกรมตำรวจ เมื่อก่อนเป็นรร.พลตำรวจปทุมวัน





นักโทษประหารถูกนำเข้าที่ประการ โดยผูกแขน ผูกมือและผูกเข้ากับหลักประหาร ในสมัยนั้น


           เรื่องน่าสนใจของ คนพวง คือนักโทษที่ออกมาทำงานนอกคุก ใส่พวงคอหรือต้องร้อยด้วยโซ่ เพื่อสะดวกในการควบคุม ชาวบ้านเรียกกันว่าคนพวง
จากหนังสือ ภูมิสถานกรุงศรีอยุธยา ซึ่งกรมศิลปากรสันนิษฐานว่าผู้แต่งเกิดทันสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี กล่าวถึงนักโทษและคุกในสมัยนั้นว่า
มีตารางสำหรับใส่ลูกเมียนักโทษด้วย พวกที่โทษเบาก็ใส่โซ่พวกละ9คน10คน พวกที่โทษหนักใส่พวงคอพวงละ20-30คนและเมียผู้ร้ายนั้นใส่กรวนเชือกผูกเอวต่อกันไปผูกติดท้ายพวงคอออกมาเที่ยวขอทานกิน
หมายความว่า สมัยก่อนคุกเอาไว้ใส่นักโทษ ส่วนตารางเอาไว้ขังเมียของนักโทษ จึงเกิดมีคำว่าคุกและตาราง






คนพวงนี้มีเรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่5 ทรงโปรดเกล้าให้สร้างคุกใหม่ปัจจุบันคืเรือนจำพิเศษกรุงเทพ โดยรื้อคุกที่สวนเจ้าเชตุ ( ปัจจุบันคือกรมรักษาดินแดน )คนพวงจึงหมดไป

ตะรางหรือตารางนี้ไม่ได้ขังเพียงเมียนักโทษเท่านั้น คงจะขังญาติพี่น้องของนักโทษด้วยเป็นแน่ เพราะจากหนังสือ " เรื่องกฏหมายเมืองไทย" ฉบับบหมอบลัดเลใน พระราชกำหนดเก่า จุลศักราช 3094 ( พศ.2275 )บัญญัติไว้ว่า " ถ้าจับอ้ายผู้ร้าย ไม่ได้ ก็ให้จับลูกเมีย พ่อ แม่ พี่น้อง พ่อตา แม่ยาย พวกพ้องเพื่อนฝูงมาจำแทน โดยถ้าเป็นชายให้ใส่คา ถ้าเป็นหญิงให้ใส่ขื่อ






อีกภาพคือแร้งวัดสระเกศ กำลังคอยจิกกินซากศพ สัปเหร่ต้องคอยถือไม้ไล่ เพื่อให้ช่างภาพถ่ายภาพนี้ ( เข้าใจว่าที่
ยืนอยู่เป็นแถวด้านหลังคือแร้ง)






ป้อมมหากาฬ ตรงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ หน้าโรงภาพบนตร์เฉลิมไทยที่เราผ่านบ่อยๆ






บ้านเมืองของเรานี้ดี มีประวัตศาสตร์ที่มาที่ไปอันยิ่งใหญ่ งดงาม อย่างที่บางประเทศในโลกถวิลอยากจะมี แต่มีไม่ได้ เพราะเพิ่งเกิดประเทศมาได้200ปีก็มี ก็เลยอยากเอาภาพมาแบ่งปันกันดูให้คิดถึงว่าเราเป็นคนไทย เราต้องภูมิใจและต้องสำนึกในบุณคุณของแผ่นดินเกิด






                                 ตราสัญลักษณ์ในคราวสมโภชพระนคร ครบ ๒๐๐ ปี


                                        ตลาดเก่าเยาวราช

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ11 มกราคม 2555 เวลา 18:06

    จริงอ่ะ ?????? ไม่อยากจะเชื่อ นึกภาพแล้วอืม........... ดูแทบไม่ได้ แต่ก็..................................................... ไม่รู้สิเนอะ (คนบ้าพูด เอ๊ย เขียน เอ๊ย พิมพ์ เอ๊ย เอ่อ ถูกแล้วนี่หว่า อย่าถือสาเล้ย ก็คนบ้าพิมพ์เนอะๆ)

    ตอบลบ
  2. ภาพเก่าหาดูยาก แต่ดูแล้วสวยงามไปอีกแบบ ดีค่ะ .... ^^

    ตอบลบ